ประวัติโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนภารตวิทยาลัย

โรงเรียนภารตวิทยาลัยเปิดทำการสอน

เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๒

โรงเรียนภารตวิทยาลัยเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๒ โดยมีนโยบายจัดการศึกษาให้นักเรียนมีความรู้ คู่คุณธรรม จริยธรรม ภายใต้คำขวัญว่าสุขภาพ มีวินัย  ใฝ่ศึกษา เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นเตรียมอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เป็นโรงเรียนเอกชนแบบสหศึกษา ในความอุปถัมภ์ของสมาคมฮินดูสมาช มีประวัติเป็นมาดังนี้

  • ปีการศึกษา ๒๔๘๔ ได้รับอนุญาตให้รับนักเรียนถึงชั้นประโยคประถมศึกษารับนักเรียน  ได้สูงสูด ๒๗๐ คน
  • ปีการศึกษา ๒๔๙๔ ได้ย้ายจากสถานที่เดิมมาตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน โดยเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนภารตวิทยาลัย” ใช้อักษร“ ภ.ว ” และได้รับอนุญาตให้ขยายการศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งชั้นมัธยมปีที่ ๓ ในปัจจุบัน รับนักเรียนได้สูงสุด ๔๔๐ คน
  • ปีการศึกษา ๒๔๙๗ ได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลกระทรวงศึกษาธิการ
  • ปีการศึกษา ๒๕๐๘ ทางคณะกรรมการสมาคมฮินดูสมาช ได้รื้อตึกสองชั้นหลังเพื่อสร้างอาคารใหม่เป็นอาคารสามชั้นปีการศึกษา ๒๕๑๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็กพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯได้เสด็จพระราชดำเนินทางทำพิธีเปิดโบสถ์เทพมณเฑียรและอาคารเรียน
  • ปีการศึกษา ๒๕๒๖ ทางสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (ส.ช) มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเรียน จำนวน ๑ หลัง เนื่องจากมีสภาพทรุดโทรมมาก ทำให้จำนวนห้องเรียนลดลง
  • ปีการศึกษา ๒๕๓๔ ได้รับอนุญาตทำการขยายการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล) รับนักเรียนได้สูงสุด ๖๗๖ คน
  • ปีการศึกษา ๒๕๓๙ ได้รับอนุญาตยกเลิกชั้นเรียนระดับมัธยมชั้นศึกษาปีที่ ๑-๓
  • ปีการศึกษา ๒๕๔๓ สมาคมฮินดูสมาช ได้สร้างอาคารโรงอาหาร ๒ ชั้น ให้โรงเรียน ๑ หลัง
  • ปีการศึกษา ๒๕๔๔ สมาคมฮินดูสมาช ได้สร้างอาหารเรียน ๔ ชั้น ให้โรงเรียน ๑ หลัง เข้าร่วมโครงการโรงเรียนเครือข่ายใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ปีการศึกษา ๒๕๔๖ ได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารตึก ๔ ชั้น และได้รับอนุญาตให้เพิ่มจำนวนห้องเรียนอีก 10 ห้องเรียนรวมเป็น ๒๕ ห้องเรียน รับนักเรียนได้สูงสุด ๑,๐๔๗ คน ระยะเวลาที่ก่อตั้งโรงเรียนจนถึงปีการศึกษาปัจจุบัน เป็นเวลา ๓๕ ปี
  • ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ได้มีการปรับปรุงห้องเรียน มีห้องเรียนทั้งหมด ๒๒ ห้องเรียน ห้องประกอบการเรียน ๖ ห้องเรียน รับนักเรียนได้สูงสุด  ๙๓๒ คน